สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เดิมเรียกว่าห้องสมุดวิทยาลัยครูสุรินทร์ เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 ที่บ้านพักอธิการบุญจิตต์ชูทรงเดช ซอยแป๊ะตี๋ ถนนธนสาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีอาจารย์บรรณารักษ์ 1 คน คือ นายสุรพล ฤกษ์สำเร็จ ต่อมาเมื่อเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2519 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2519 ย้ายไปที่อาคารไม้ของวิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาเขตสุรินทร์ (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์) เนื่องจากวิทยาลัยครูสุรินทร์ยังไม่มีอาคารเรียน จึงต้องอาศัยอาคารเรียนเกษตรกรรมเรียน ต่อมา พ.ศ. 2520 ได้ย้ายมาที่อาคารเรียนชั่วคราวใกล้หอพักนักศึกษาอาคารเรียนโปรแกรมวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ พ.ศ. 2523 ย้ายมาอยู่ที่อาคารเรียน 2 และย้ายไปที่อาคารหอสมุด เป็นอาคารเอกเทศ ปัจจุบันคือ อาคารองค์การนักศึกษาและสำนักกิจการนักศึกษาพ.ศ. 2538 ย้ายอาคารหอสมุดมาที่อาคาร 27 สำนักวิทยบริการ ปัจจุบันอยู่ตรงข้ามอาคาร 1 มีทั้งหมด 4 ชั้น
ช่วงปี 2547 – 2554 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหน่วยงานในสังกัดได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ งานวิทยบริการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์วิเทศสัมพันธ์ ศูนย์ภาษา และศูนย์ประเทศเพื่อนบ้านศึกษา จากนั้น ปี 2555 ศูนย์วิเทศสัมพันธ์ย้ายไปสังกัดสำนักงานอธิการบดีและศูนย์ภาษา ศูนย์ประเทศเพื่อนบ้านศึกษาสังกัดสถาบันเอเชียศึกษา
ปี 2565 ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่ 0791/2565 ย้ายงานวิเทศสัมพันธ์มาสังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทและภารกิจหลักในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ภายใต้การบริหารงานภายในซึ่งประกอบด้วย 5 งาน ดังนี้ งานสำนักงานผู้อำนวยการฯ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานห้องสมุด งานศูนย์ภาษา และงานวิเทศสัมพันธ์ เพื่อให้การบริหารงานของผู้บริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถดำเนินงานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย อีกทั้ง เพื่อเป็นการสร้างความรู้เข้าใจในเชิงบริหารอย่างครอบคลุมทั้งองค์กรและสอดคล้องกับพันธกิจและขอบข่ายการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลดีต่อสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปรัชญา
“เข้าถึง เข้าใจ พร้อมใช้ พร้อมบริการ”
วิสัยทัศน์
สนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสู่การเป็น Hub of ASEAN เป็นเสาหลักทางวิชาการในการพัฒนาท้องถิ่น
พันธกิจ
1. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการบริหาร การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. พัฒนาทักษะด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากร สู่มาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3. จัดหา พัฒนาและบริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามพันธกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และมหาวิทยาลัยน